วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สถาปัตยกรรม




สถูป หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา ได้แก่ กระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ เป็นต้น
สถูปเท่าที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้นมีหลายแบบด้วยกัน คือ
1.แบบลังกา 2.แบบศรีวิชัย
3.แบบเจดีเหลี่ยมเชียงแสน 4.เจดีย์โครตบูรณ์ (แบบดอกบัว)
5.แบบสุโขทัยแท้ 6.พระปรางค์
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิวัฒนาการของสถูปแบบต่างๆทั้ง6 แบบนี้
1. แบบลังกา
องค์เดิมสุดก่อนที่จะเป็นสถูปแบบลังกานั้นเป็นสถูปแบบสัญจิ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม หรือมะนาวผ่าซีก เรียกกันว่าเป็นแบบฟองน้ำ และก่อนมาเป็นสถูปนี้ สมัยก่อนทีเดียวคนเราเมื่อเผาศพแล้วก็มักจะเอาเถ้าถ่าน หรือกระดูกมากองสุมกันไว้เป็นมูลดิน พอมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหากษัตริย์ของอินเดียคิดสร้างสถูปขึ้น จึงดัดแปลงจากกองมูลดินนั้นมาสร้างเป็นสถูป เปรียบเสมือนเป็นพระอิสริยยศของพระพุทธเจ้าที่มีเชื้อกษัตริย์ และบนแท่นบัลลังก์ก็มีฉัตรแสดงถึงความเป็นกษัตริย์ของพระพุทธเจ้าเช่นกัน
สถูปแบบลังกาได้นำไปเผยแพร่ 2 ทางด้วยกัน คือทางหนึ่งมายังนครศรีธรรมราชและได้สร้างสถูปขึ้น ชื่อว่า พระบรมธาตุ ซึ่งมีทรงแบบระฆังเช่นกันการสร้างจึงเน้นเห็นพระบรมที่นครศรธรรมราชกันจนทุกวันนี้ ส่วนสถูปแบบลังกาที่นำไปเผยแพร่นั้นคือ พุกามในพม่า แต่ไม่เน้นระฆังกลับไปเน้นฐาน ฐานจึงสูงกว่าแบบลังกามากทีเดียว ส่วนยอดสุดก็มีฉัตรด้วย บางทีสร้างตรงระฆังเป็นแปดเหลี่ยมก็มี
2.แบบศรีวิชัย
แบบศรีวิชัยเป็นสถูปที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียเช่นกัน แต่ไม่เด่นชัดนักเพียงแต่สันนิษฐานกันไปเท่านั้นเอง อาจกล่าวได้ว่าเป็นแบบอินเดียผสมชวา อาณาจักรศรีวิชัยมีอาณาเขตรวมสุมาตรา ชวา และแหลมมาลายู สันนิษฐานกันว่าเมืองไชยา ก็เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยเหมือนกัน สถูปแบบศรีวิชัยนี้ พบว่าเป็นพระธาตุไชยา จังหวัดสุราษร์ธานี ลักษณะสถูปเป็นทรงมณฑป คือมีตัวสถูปกลางอยู่สูงพอควร ส่วนฐานทำสูงใหญ่ มียอดสถูปเล็กๆ ล้อมรอบสถูปองค์กลางเป็นชั้นๆขึ้นไป
สมัยสุโขทัยก็นำแบบศรีวิชัยนี้ไปสร้างเช่นกัน คือสถูปวัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอสวรรคโลก และสถูปวัดเขาใหญ่ จังหวัดสุโขทัย ลักษณะที่ว่าเป็นแบบอิทธิพลของศรีวิชัยคือทำฐานสูง มีซุ้มไว้พระพุทธรูป หรืซุ้มประตูทางเข้าทั้ง4ด้าน ตรงกลางมีสถูปองค์ใหญ่เป็นสำคัญ และมีสถูปเล็กๆอยู่ทั้ง4มุมและบนยอดซุ้มประตูอีกด้วย ลักษณะแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศรีวิชัย
สมัยอยุธยาก็คือสถูปวัดพระศรีสรรพเพชรญ์ ลักษณะที่เป็นอิทธิพลของศรีวิชัยคือมีสถูปเล็อยู่บนยอดซุ้มทั้ง4ด้านของสถูปองค์ใหญ่นั่นเอง
สมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีอนุสาวรีย์ทหารอาสา ซึ่งอยู่หน้าพิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพระนคร ถือว่าได้รับอิทธิพลจากศรีวิชัยก็คือ การจัดสถูปสำคัญอยู่กลาง สถูปบริวารอยู่ตรงมุมทั้ง4 เหมือนการจัดสถูปพระธาตุไชยา ซึ่งมีสถูปอยู่ตรงมุมทั้ง4

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์คืออะไร


เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าความงามซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติและความงามที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นงานศิลปกรรมตลอดจนความงามของกระบวนการสร้างผลงานนั้นๆด้วย

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์
1.ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินใจความงามอย่างสมเหตุสมผล
2.ช่วยกล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3.เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียธให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4.ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5.ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน



สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพ คือ
ทำให้มีจิตใจเมตตา กรุณา
มองโลกในแง่ดี เป็นคนมีจิตใจดีงาม

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550